ภูกระดึง

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของวิวัฒนาการ

             วิวัฒนาการ (Evolution) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ฐานะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เป็นเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่สิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเปลี่ยน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้เวลานาน
             วิวัฒนาการ (Evolution) หมายถึง การพัฒนาอย่างมีระบบตามธรรมชาติ และตามผลการทบของสิ่งแวดล้อมในสภาวะนั้นๆ วิวัฒนาการต้องใช้เวลา ไม่มีทางลัด ตัวแปรของวิวัฒนาการ คือ สิ่งแวดล้อม
             วิวัฒนาการ คือ การดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป ในเวลาปรกติก็จะพัฒนาไป ต่อเมื่อพบสภาววิกฤตก็จะทำการปฏิรูปจริงจัง

              จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปความหมายของคำว่าวิวัฒนาการ ได้ว่า  เป็นการพัฒนาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเผชิญกับสภาวะวิกฤต  ทำให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  เพื่อทำได้ดีขึ้น ซึ่งมีด้วยกันหลายด้านเช่น วิวัฒนาการของเทคโนโลยี  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

อ้างอิง http://portal.in.th/ratree/pages/evo/

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

            คนเรารู้จักใช้เทคโนโลยีกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์  นับตั้งแต่การทำเครื่องมือล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร  รู้จักการฝนหินเพื่อให้เกิดไฟปิ้งอาหารให้สุก  หรือเทคโนโลยีในอดีตอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัด คือ พีรามิดของชาวอียิปต์โบราณที่สร้างโดยวิธีต่อทางลำเลียงลาดเพื่อลากก้อนหินขึ้นไป  เทคโนโลยีมีพัฒนาการเรื่อยมาโดยมีการค้นคิดประดิษฐกรรมต่าง ๆ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรกลอันสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม  พัฒนาการของเทคโนโลยีสืบมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์และเทคนิควิธีการ เช่น มีการประดิษฐ์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เสียง รวมถึงเป็นยุคแรกของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงทศวรรษ 1930s-1940s ที่รู้จักกันดีคือ เครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ซึ่งสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเมื่อมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ยิ่งช่วยให้มีการพัฒนาการของเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สังคมโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากดังที่เห็นในปัจจุบัน (กิดานันท์  มลิทอง, 2548 : 1)

อ้างอิง http://portal.in.th/ratree/pages/evo/

วิวัฒนาการเทคโนโลยีโครงข่ายเข้าถึงของNGNสู่ยุคบรอดแบนด์ไร้สาย

    โดยรวมแล้วเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีของโครงข่ายสื่อสารไร้สายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามที่มาคือ (ก) (Public Network)ไร้สายหรือโครงข่ายมือถือ(Mobile Network)ที่เราใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ทุกที่แม้ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่าร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงดังที่แสดงในแถวแนวนอนด้านบนของรูปที่1 กับ(ข)เทคโนโลยีทางฝั่งที่พัฒนามาจากโครงข่ายส่วนตัว(Private Network)จำพวกWireless LANที่เราท่านใช้กันอยู่ตามบ้านและออฟฟิศนั่นเองทางด้าน(ก)โครงข่ายมือถือได้มีการเริ่มให้บริการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ยุคที่สองอย่างGPRS(แต่ยังมีความเร็วต่ำอยู่) จนมีการพัฒนาเป็นมือถือยุคที่สามที่มีความเร็วสูงขึ้นเป็นระดับหลายร้อยกิโลบิตต่อวินาทีอย่างระบบWCDMA หรือCDMA2000ของทางค่ายITU  ซึ่งมีการเปิดบริการจริงในโลกตั้งแต่ปี2001แล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วฝั่งคลื่นวิทยุให้ถึงระดับบรอดแบนด์โดยเริ่มจากยุคที่3.5อย่างHSPA(ความเร็วระดับหลายเมกะบิต)ที่ทั่วโลกได้เริ่มเปิดให้บริการกันบ้างแล้ว ตามด้วยยุคที่3.7อย่างHSPA+ที่จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วอย่างการเพิ่มModulationแบบ 64 QAM และการมีเสารับและส่งข้อมูลพร้อมๆกันหลายชุดหรือMIMO เพื่อให้ได้ระดับความเร็วระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาที และท้ายสุดก่อนที่จะเข้าสู่ยุคที่สี่ก็จะเป็นมือถือยุคที่3.9อย่างLTEที่จะสามารถเพิ่มความกว้างของคลื่นพาหะทำให้ได้ความเร็วระดับหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว
            ทางด้าน(ข)นั่นเริ่มจากความต้องการที่ทำให้การติดต่อภายในโครงข่ายLANให้สะดวกมากขึ้น(จากเดิมที่ต้องต่อด้วยสายEthernet)เป็นแบบไร้สายกลายเป็นมาตราฐานWireless LAN 802.11ของค่ายIEEE ตั้งแต่ปี1997 สำหรับใช้ติดต่อในโครงข่ายส่วนตัวครอบคลุมรัศมีใกล้ๆระยะหลายสิบเมตรหรือในสถานที่เฉพาะเช่นร้านกาแฟ สนามบินหรือHot Spotอื่นๆ โดยมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11a/b/gจนถึงระดับร้อยเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11n นอกจากนี้ทางค่ายIEEEนี้ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้สื่อสารรับส่งข้อมูลแบบไร้สายอย่างWireless LANได้ในรัศมีที่กว้างขึ้นระดับหลายกิโลเมตร(แต่หยุดเคลื่อนที่ขณะใช้งาน)ตามมาตราฐาน 802.16-2004 ที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Fixed WiMAX(ความเร็วสูงสุดประมาณ37เมกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้คลื่นพาหะกว้าง10MHz) หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาให้มาตราฐาน802.16นี้สามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลได้แม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงที่เรียกว่า802.16e หรือที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Mobile WiMAXนั่นเอง  
               จะเห็นได้ว่าการต่อโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สายต่างๆในรูปที่1เข้ากับโครงข่ายหลักของNGNจะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อด้วยความเร็วระดับบรอดแบนด์ได้ในทุกที่ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังใช้มือถือ Wireless LANหรือWiMAXอยู่ก็ตาม

วิวัฒนาการการจัดการข้อมูล

เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศและการจัดการข้อมูล สามารถแบ่งเป็นระบบ ได้ตามความต้องการและการจัดสรรทรัพยากร ทางคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น คน และเครื่องมือ โดยแบ่งออกเป็น 5 ระบบ
1. ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing Systems)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems)
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

อ้างอิง http://203.155.220.118/gis_digest/evolution.htm

แนวทางพัฒนาการศึกษาในยุคสื่อ IT

            แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย การเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ การมีรูปแบบจำลองทางความคิด     การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน     การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม    และการคิดอย่างเป็นระบบ
           ผลการวิจัยพบว่าปัญหาหลัก   ได้แก่   ด้านการเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ ครูมีภาระงานมาก    มีความรับผิดชอบมากเกินไป ขาดแหล่งเรียนรู้สำหรับครูโดยเฉพาะ   ด้านการมีรูปแบบจำลองทางความคิด ครูบางคนยังยึดกรอบความคิดความเชื่อเดิม ๆไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง   ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การนำเสนอความคิดเห็นหรืออภิปรายไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและความแตกต่างระหว่างวัยทำให้เกิดการปิดกั้นทางความคิด ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การที่มีภาระงานมากเกินไปทำให้การเรียนรู้ร่วมกันน้อยลง ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ บุคลากรบางส่วนยังไม่เกิดการคิดหรือมองภาพรวมขององค์กร ยังยึดติดเฉพาะกับงานที่ทำหรือได้รับมอบหมาย
           แนวทางการจัดการความรู้เพื่อให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ    ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ   เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น     สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม     มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการทำงานข้ามสายงาน     ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ    เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์กร

การปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ

             ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการปฎิบัติงานแต่ละหน่วยงานมากขึ้น องค์การต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นระบบย่อยภายในระบบสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตในอนาคต    ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
            หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต    จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น
         องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน       และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
         มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
         ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
 
        นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น    กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ  จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว       เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง ดังต่อไปนี้

                            1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
                            2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน  โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
                            3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้    เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
                     เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
อ้างอิง http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/102/noname2.htm

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

อ้างอิง http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=27-03-2009&group=7&gblog=3