ภูกระดึง

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของวิวัฒนาการ

             วิวัฒนาการ (Evolution) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหรือคลี่คลายไปสู่ฐานะที่ดีขึ้นหรือเจริญขึ้น เป็นเปลี่ยนแปลงในทางชีววิทยาจากสิ่งที่ง่าย ๆ ไปสู่สิ่งที่ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องเปลี่ยน ในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และต้องใช้เวลานาน
             วิวัฒนาการ (Evolution) หมายถึง การพัฒนาอย่างมีระบบตามธรรมชาติ และตามผลการทบของสิ่งแวดล้อมในสภาวะนั้นๆ วิวัฒนาการต้องใช้เวลา ไม่มีทางลัด ตัวแปรของวิวัฒนาการ คือ สิ่งแวดล้อม
             วิวัฒนาการ คือ การดำเนินการที่ค่อยเป็นค่อยไป ในเวลาปรกติก็จะพัฒนาไป ต่อเมื่อพบสภาววิกฤตก็จะทำการปฏิรูปจริงจัง

              จากข้อความข้างต้นสามารถสรุปความหมายของคำว่าวิวัฒนาการ ได้ว่า  เป็นการพัฒนาอย่างเป็นระบบ  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเผชิญกับสภาวะวิกฤต  ทำให้ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง  เพื่อทำได้ดีขึ้น ซึ่งมีด้วยกันหลายด้านเช่น วิวัฒนาการของเทคโนโลยี  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต

อ้างอิง http://portal.in.th/ratree/pages/evo/

วิวัฒนาการของเทคโนโลยี

            คนเรารู้จักใช้เทคโนโลยีกันมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์  นับตั้งแต่การทำเครื่องมือล่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร  รู้จักการฝนหินเพื่อให้เกิดไฟปิ้งอาหารให้สุก  หรือเทคโนโลยีในอดีตอีกอย่างหนึ่งที่เห็นชัด คือ พีรามิดของชาวอียิปต์โบราณที่สร้างโดยวิธีต่อทางลำเลียงลาดเพื่อลากก้อนหินขึ้นไป  เทคโนโลยีมีพัฒนาการเรื่อยมาโดยมีการค้นคิดประดิษฐกรรมต่าง ๆ จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเนื่องจากมีการใช้เครื่องจักรกลอันสืบเนื่องมาจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม  พัฒนาการของเทคโนโลยีสืบมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในด้านวัสดุ อุปกรณ์และเทคนิควิธีการ เช่น มีการประดิษฐ์โทรทัศน์ ภาพยนตร์เสียง รวมถึงเป็นยุคแรกของคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ในช่วงทศวรรษ 1930s-1940s ที่รู้จักกันดีคือ เครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Computer) ซึ่งสร้างโดยกองทัพสหรัฐอเมริกา และนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเมื่อมีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ยิ่งช่วยให้มีการพัฒนาการของเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้สังคมโลกมีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วมากดังที่เห็นในปัจจุบัน (กิดานันท์  มลิทอง, 2548 : 1)

อ้างอิง http://portal.in.th/ratree/pages/evo/

วิวัฒนาการเทคโนโลยีโครงข่ายเข้าถึงของNGNสู่ยุคบรอดแบนด์ไร้สาย

    โดยรวมแล้วเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีของโครงข่ายสื่อสารไร้สายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามที่มาคือ (ก) (Public Network)ไร้สายหรือโครงข่ายมือถือ(Mobile Network)ที่เราใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ทุกที่แม้ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่าร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงดังที่แสดงในแถวแนวนอนด้านบนของรูปที่1 กับ(ข)เทคโนโลยีทางฝั่งที่พัฒนามาจากโครงข่ายส่วนตัว(Private Network)จำพวกWireless LANที่เราท่านใช้กันอยู่ตามบ้านและออฟฟิศนั่นเองทางด้าน(ก)โครงข่ายมือถือได้มีการเริ่มให้บริการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ยุคที่สองอย่างGPRS(แต่ยังมีความเร็วต่ำอยู่) จนมีการพัฒนาเป็นมือถือยุคที่สามที่มีความเร็วสูงขึ้นเป็นระดับหลายร้อยกิโลบิตต่อวินาทีอย่างระบบWCDMA หรือCDMA2000ของทางค่ายITU  ซึ่งมีการเปิดบริการจริงในโลกตั้งแต่ปี2001แล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วฝั่งคลื่นวิทยุให้ถึงระดับบรอดแบนด์โดยเริ่มจากยุคที่3.5อย่างHSPA(ความเร็วระดับหลายเมกะบิต)ที่ทั่วโลกได้เริ่มเปิดให้บริการกันบ้างแล้ว ตามด้วยยุคที่3.7อย่างHSPA+ที่จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วอย่างการเพิ่มModulationแบบ 64 QAM และการมีเสารับและส่งข้อมูลพร้อมๆกันหลายชุดหรือMIMO เพื่อให้ได้ระดับความเร็วระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาที และท้ายสุดก่อนที่จะเข้าสู่ยุคที่สี่ก็จะเป็นมือถือยุคที่3.9อย่างLTEที่จะสามารถเพิ่มความกว้างของคลื่นพาหะทำให้ได้ความเร็วระดับหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว
            ทางด้าน(ข)นั่นเริ่มจากความต้องการที่ทำให้การติดต่อภายในโครงข่ายLANให้สะดวกมากขึ้น(จากเดิมที่ต้องต่อด้วยสายEthernet)เป็นแบบไร้สายกลายเป็นมาตราฐานWireless LAN 802.11ของค่ายIEEE ตั้งแต่ปี1997 สำหรับใช้ติดต่อในโครงข่ายส่วนตัวครอบคลุมรัศมีใกล้ๆระยะหลายสิบเมตรหรือในสถานที่เฉพาะเช่นร้านกาแฟ สนามบินหรือHot Spotอื่นๆ โดยมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11a/b/gจนถึงระดับร้อยเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11n นอกจากนี้ทางค่ายIEEEนี้ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้สื่อสารรับส่งข้อมูลแบบไร้สายอย่างWireless LANได้ในรัศมีที่กว้างขึ้นระดับหลายกิโลเมตร(แต่หยุดเคลื่อนที่ขณะใช้งาน)ตามมาตราฐาน 802.16-2004 ที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Fixed WiMAX(ความเร็วสูงสุดประมาณ37เมกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้คลื่นพาหะกว้าง10MHz) หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาให้มาตราฐาน802.16นี้สามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลได้แม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงที่เรียกว่า802.16e หรือที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Mobile WiMAXนั่นเอง  
               จะเห็นได้ว่าการต่อโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สายต่างๆในรูปที่1เข้ากับโครงข่ายหลักของNGNจะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อด้วยความเร็วระดับบรอดแบนด์ได้ในทุกที่ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังใช้มือถือ Wireless LANหรือWiMAXอยู่ก็ตาม

วิวัฒนาการการจัดการข้อมูล

เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศและการจัดการข้อมูล สามารถแบ่งเป็นระบบ ได้ตามความต้องการและการจัดสรรทรัพยากร ทางคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น คน และเครื่องมือ โดยแบ่งออกเป็น 5 ระบบ
1. ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing Systems)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information Systems)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems)
4. ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information Systems)
5. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

อ้างอิง http://203.155.220.118/gis_digest/evolution.htm

แนวทางพัฒนาการศึกษาในยุคสื่อ IT

            แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย การเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ การมีรูปแบบจำลองทางความคิด     การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน     การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม    และการคิดอย่างเป็นระบบ
           ผลการวิจัยพบว่าปัญหาหลัก   ได้แก่   ด้านการเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้ ครูมีภาระงานมาก    มีความรับผิดชอบมากเกินไป ขาดแหล่งเรียนรู้สำหรับครูโดยเฉพาะ   ด้านการมีรูปแบบจำลองทางความคิด ครูบางคนยังยึดกรอบความคิดความเชื่อเดิม ๆไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง   ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน การนำเสนอความคิดเห็นหรืออภิปรายไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังและความแตกต่างระหว่างวัยทำให้เกิดการปิดกั้นทางความคิด ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม การที่มีภาระงานมากเกินไปทำให้การเรียนรู้ร่วมกันน้อยลง ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ บุคลากรบางส่วนยังไม่เกิดการคิดหรือมองภาพรวมขององค์กร ยังยึดติดเฉพาะกับงานที่ทำหรือได้รับมอบหมาย
           แนวทางการจัดการความรู้เพื่อให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือ ลดภาระงานพิเศษให้น้อยลง จัดหาแหล่งเรียนรู้ สื่อ อุปกรณ์ อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ครูโดยเฉพาะ    ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน เปิดรับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งใหม่ ๆ   เปิดโอกาสด้านการแสดงออกทางความคิดอย่างเสรีมากขึ้น     สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม     มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เพิ่มมากขึ้น ส่งเสริมการทำงานข้ามสายงาน     ส่งเสริมกิจกรรมร่วมคิด ร่วมทำ    เพื่อเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกันขององค์กร

การปรับตัวขององค์การในยุคสารสนเทศ

             ความก้าวหน้าและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลกระทบต่อการปฎิบัติงานแต่ละหน่วยงานมากขึ้น องค์การต่าง ๆ ในฐานะที่เป็นระบบย่อยภายในระบบสังคมมีความจำเป็นที่จะต้องปรับตัว เพื่อความอยู่รอดและการเจริญเติบโตในอนาคต    ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างต่อไปนี้
            หลายหน่วยงานได้ปรับโครงสร้างขององค์การจากโครงสร้างแบบลำดับขั้นเข้าสู่โครงสร้างระบบเครือข่าย พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้การตัดสินใจ และการประสานงานระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องมีการตรวจสอบและควบคุมเป็นลำดับขั้น นอกจากบุคลากรรุ่นใหม่ยังมีความรู้และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสูงกว่าในอดีต    จึงพร้อมที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของตนและกลุ่มมากขึ้น
         องค์การขนาดใหญ่ปรับตัวเป็นกลุ่มองค์การขนาดย่อม เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน การประสานงาน การแข่งขัน       และรองรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
         มีการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยที่ผู้จัดการหรือหัวหน้างานจะเปลี่ยนหน้าที่จากผู้สั่งการมาเป็นผู้ฝึกสอน ผู้ประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการทำงาน
         ระบบการเข้าทำงานแบบยืดหยุ่นจะถูกนำมาใช้ แรงงานบางส่วนจะสามารถทำงานอยู่ที่บ้าน ขณะที่หลายฝ่ายสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานและเลือกงานที่เหมาะสมได้เอง
 
        นอกจากนี้กิจกรรมทางธุรกิจก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามการพลวัตรของสังคมที่ถูกผลักด้นด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น    กิจกรรมทางการเงินที่ต้องกระทำต่อเนื่องตลอดทั้งวันทั้งคืน การผลิตและการตลาดต้องปรับตัว เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่มีหลากหลายขึ้น ช่องทางการจัดจำหน่ายจะมีมากขึ้นกว่าในอดีต เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารในหน่วยงานต่าง ๆ  จะต้องติดตามความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัว       เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในหน่วยความงานของตนต่อไป โดยมีข้อแนะนำในการเตรียมตัวเพื่อก้าวสู่ยุคสารสนเทศอย่างมั่นคง ดังต่อไปนี้

                            1. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ตลอดจนทำความเข้าใจบทบาทของเทคโนโลยีใหม่ที่จะมีผลกระทบต่อองค์การและในอนาคต
                            2. พิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและกำลังเกิดขึ้นในแต่ละหน่วยงาน  โดยเฉพาะความต้องการทางด้านข้อมูลข่าวสาร เพื่อหาแนวโน้มความต้องการ จัดทำแผน และแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีขององค์การ
                            3. เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและงบประมาณ เพื่อรองรับต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้    เนื่องจากการจัดการเทคโนโลยีไม่สามารถใช้เงินซื้อหามาเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีความเข้าใจในศักยภาพและความพร้อมของบุคลากรประกอบด้วย
                     เราจะเห็นว่าการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐาน โดยเทคโนโลยีสารสนเทศถูกใช้ให้เป็นประโยชน์แก่องค์การในหลายด้าน ตั้งแต่ การประมวลผลงานประจำวัน การตัดสินใจของผู้จัดการ ตลอดจนสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ขององค์การ นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยส่งเสริมรูปแบบใหม่ในการสื่อสารข้อมูล และการเพิ่มผลผลิตขององค์การ
อ้างอิง http://www.sirikitdam.egat.com/web_mis/102/noname2.htm

วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ยุคที่ 1 การประมวลผลข้อมูล (Data Processing Age) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการประจำ (Transaction Processing) เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ (management Information System : MIS) มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุม ดำเนินการ ติดตามผลและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่าง ๆ

ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ (Information Resource Management) ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ

ยุคที่ 4 ยุคปัจจุบันหรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

อ้างอิง http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=27-03-2009&group=7&gblog=3

บทบาทของผู้บริหารยุค IT

เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่ เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต   การให้บริการส่งข่าวสาร SMS   หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิด ประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ     ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพ นับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่

อ้างอิง http://www.softbizplus.com/it/660-administrator-and-it

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา
พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่างกันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษาพูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสารมากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

อ้างอิง http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html

ความรู้คู่ไอที

ความรู้ไม่มีเพียงแค่ในห้องเรียนหรือสถาบันการศึกษาเท่านั้น ความรู้ความสามารถเรียนรู้จากสิ่งต่าง ๆ ได้ เช่น เรียนรู้จากธรรมชาติ เรียนรู้จาก ประสบการณ์ เรียนรู้จากการทำงานหรือจากผู้ชำนาญก็ได้ มีประโยคหนึ่งของคุณมาช่า วัฒนพานิช ที่เคยให้สัมภาษณ์ว่า คุณมาช่าเอง ก็เรียนรู้ จากมหาวิทยาลัยชีวิตคือเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากประสบการณ์ของชีวิตที่ผ่านมา ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้จึงมีหลากหลายขึ้นอยู่กับตัวบุคคล ในเรื่องของความรู้นั้นความสำคัญอยู่ที่การรู้จริงและการที่สามารถนำมาความรู้มาประยุกต์ใช้ได้ ความรู้ไม่ใช่การท่องทำหรือการตอบคำถามแล้วได้ คะแนนหากเป็นเช่นนั้นก็คงไม่ต่างอะไรกับสุภาษิตที่ว่ามีความรู้ท่วมหัว แต่เอาตัวไม่รอด
สถาบันการศึกษาเป็นแหล่งความรู้อีกแห่งหนึ่งที่ทุกคนยอมรับ แต่ภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่กลับถูกมองเป็นภาพของตัวอาคาร ห้องเรียนและสถานที่ มากกว่าองค์ความรู้ในแขนงต่าง ๆ ที่สถาบันการศึกษานั้นมีความสำคัญของการศึกษาอยู่ที่องค์ความรู้และกระบวนการถ่ายทอด ความรู้ ดังนั้นบทบาทที่สำคัญส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษาคือ การสร้าง รวบรวม และพัฒนาองค์ความรู้ ตลอดจนพัฒนาเทคนิคและกระบวนการ ถ่ายทอดความรู้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดีกว่าการเน้นหรือแข่งขันกันที่ตัวอาคารหรือสถานที่
ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทกับสังคม สถาบันการศึกษาก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่ให้ความสำคัญ และมีการลงทุนกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็น จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบเครือข่าย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอื่น ๆ ด้วยความเข้าใจที่ว่าเทคโนโลยีคือคำตอบของทุกปัญหา ซึ่งก็มีทั้งประสบความ สำเร็จและล้มเหลว ในส่วนที่ล้มเหลวคือผลตอบแทนที่ได้รับนั้น ไม่คุ้มกับการลงทุน หากพิจารณาให้ดีแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้ ในการติดต่อสื่อสารกัน และเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาเท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จ ขององค์กร
ในส่วนของระบบศึกษาจึงต้องเน้นในเรื่องการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มากกว่าเน้นการจัดการสารสนเทศ (Management of Information Technology) เพื่อที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายของการเป็นแหล่งองค์ความรู้และองค์กรในการถ่ายทอดความรู้ สถาบันการศึกษาสามารถ นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ เพื่อบรรลุเป้าหมายได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้เทคโนโลยีเว็บในการเผยแพร่ความรู้ Search Engine ใน การค้นหาข้อมูลที่ต้องการระบบฐานข้อมูลในการเก็บองค์ความรู้ ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนต์ในการถ่ายทอดความรู้ทางไกล ในปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา หลายแห่งนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนในโครงการต่าง ๆ เช่น eUniversity, eLibrary, eClassroom, eLearning หรือ Itcampus เป็นต้น ฐานข้อมูลสำหรับอ้างอิงที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการเรียนและวิจัย

อ้างอิง http://www.ku.ac.th/e-magazine/january45/it/itcom.html

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดีย คือ  การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

อ้างอิง http://learning.pitlokcenter.com/captivate/train-meaning.htm

ความเป็นมาของสื่อมัลติมีเดีย

สื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะได้นำมาใช้ในการฝึกอบรมและให้ความบันเทิง ส่วนในวงการศึกษามัลติมีเดียได้นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะแผ่นซีดีรอม หรืออาจใช้ในลักษณะห้องปฏิบัติการมัลติมีเดียโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองแบบเชิงรุก (Active Learining)

อ้างอิง http://learning.pitlokcenter.com/captivate/train-meaning.htm

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข้อมูลและสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไร

        ข้อมูล (Data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          
     สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่ายๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

           แหล่งที่มา http://jantima-ssp.exteen.com/20080212/entry-7

นักสารสนเทศ คืออะไร


นักสารสนเทศปฏิบัติงานพื้นฐานทั่วไปเช่นเดียวกับบรรณารักษ์ แต่มีความรู้เฉพาะสาขาวิชา เช่น มีความรู้เฉพาะด้าน เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ กฎหมาย แพทย์ ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ดำเนินงานศูนย์บริการสารสนเทศ หรือห้องสมุดตามนโยบาย จัดระบบงาน และจัดเก็บหนังสือวารสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อในรูปแบบต่างๆ ตามระบบห้องสมุด เช่น ไมโครฟิลม์ ฟิล์มภาพยนตร์ โสตทัศนวัสดุ และวัสดุ วารสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ คัดเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ ประมวล ประเมินสารสนเทศที่มีอยู่ และบริการสืบค้นข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ หรือพัฒนาเพื่อส่วนรวมของประเทศชาติ และรณรงค์ให้ประชาชนเกิดสำนึกในเรื่องการแสวงหาสารนิเทศอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนที่จะเข้าถึงสารนิเทศได้อย่างเท่าเทียมกัน
แหล่งที่มาของข้อมูล :  http://www.doe.go.th/

วิดีโอความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ

วิวัฒนาการยุคไอที


                ยุคไอที่เป็นยุคของสังคมสารสนเทศเด็กต้องเติบโตมาในสังคมนี้ เพราะฉะนั้นเด็กควรเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เป็น ก่อนอื่นต้องเรียนให้ทราบก่อนว่าการนำ e – leaning เข้ามาไม่ได้หมายความว่าจะมาแทนที่ครู อย่างไรก็ตาม ครูต้องเป็นหลัก ส่วนเทคโนโลยีต่างๆ เป็นสื่อการสอนที่ทันสมัยจะมาเสริมครู เพื่อให้เด็กมีการทบทวนฝึกฝนเรียนรู้ด้วยตัวเอง การอ่านหนังสืออย่างเดี่ยวบางครั้งเด็กเกิดความเบื่อหน่าย แต่การที่เขาได้มีโอกาส ได้ค้นคว้าข้อมูลในเว็บซึ่งเป็นภาพมัลติมีเดียมีความเคลื่อนไหว มีเสียง เขาจะสนใจไม่เบื่อ ถ้าเด็กเล่นเกมเราก็นำแบบฝึกหัดเป็นลักษณะเกม จับคู่ เติมคำ ให้เขาเล่น ขณะเดียวกันเราต้องส่งเสริมครูผลิตเว็บเอง โดยให้ครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ทำโปรแกรม               e –leaning ขึ้นมา
               โลกในยุคที่เรียกว่า ยุคสารสนเทศหรือยุค IT นั้น การพัฒนาทางด้านวิทยาการ และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ มากมาย ทั้งด้าน การดำรงชีวิต วัฒนธรรม สังคม และการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น ในแวดวงการศึกษาก็เช่นกัน เทคโนโลยีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ได้แก่ การเรียนการสอน ตลอดจนการเรียนรู้ ของมนุษย์

แหล่งที่มา http://taywan9.com/?p=115