ภูกระดึง

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการเทคโนโลยีโครงข่ายเข้าถึงของNGNสู่ยุคบรอดแบนด์ไร้สาย

    โดยรวมแล้วเราสามารถแบ่งเทคโนโลยีของโครงข่ายสื่อสารไร้สายออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ ตามที่มาคือ (ก) (Public Network)ไร้สายหรือโครงข่ายมือถือ(Mobile Network)ที่เราใช้ในการติดต่อสื่อสารได้ทุกที่แม้ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงมากกว่าร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมงดังที่แสดงในแถวแนวนอนด้านบนของรูปที่1 กับ(ข)เทคโนโลยีทางฝั่งที่พัฒนามาจากโครงข่ายส่วนตัว(Private Network)จำพวกWireless LANที่เราท่านใช้กันอยู่ตามบ้านและออฟฟิศนั่นเองทางด้าน(ก)โครงข่ายมือถือได้มีการเริ่มให้บริการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ยุคที่สองอย่างGPRS(แต่ยังมีความเร็วต่ำอยู่) จนมีการพัฒนาเป็นมือถือยุคที่สามที่มีความเร็วสูงขึ้นเป็นระดับหลายร้อยกิโลบิตต่อวินาทีอย่างระบบWCDMA หรือCDMA2000ของทางค่ายITU  ซึ่งมีการเปิดบริการจริงในโลกตั้งแต่ปี2001แล้ว หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วฝั่งคลื่นวิทยุให้ถึงระดับบรอดแบนด์โดยเริ่มจากยุคที่3.5อย่างHSPA(ความเร็วระดับหลายเมกะบิต)ที่ทั่วโลกได้เริ่มเปิดให้บริการกันบ้างแล้ว ตามด้วยยุคที่3.7อย่างHSPA+ที่จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเพิ่มความเร็วอย่างการเพิ่มModulationแบบ 64 QAM และการมีเสารับและส่งข้อมูลพร้อมๆกันหลายชุดหรือMIMO เพื่อให้ได้ระดับความเร็วระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาที และท้ายสุดก่อนที่จะเข้าสู่ยุคที่สี่ก็จะเป็นมือถือยุคที่3.9อย่างLTEที่จะสามารถเพิ่มความกว้างของคลื่นพาหะทำให้ได้ความเร็วระดับหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาทีเลยทีเดียว
            ทางด้าน(ข)นั่นเริ่มจากความต้องการที่ทำให้การติดต่อภายในโครงข่ายLANให้สะดวกมากขึ้น(จากเดิมที่ต้องต่อด้วยสายEthernet)เป็นแบบไร้สายกลายเป็นมาตราฐานWireless LAN 802.11ของค่ายIEEE ตั้งแต่ปี1997 สำหรับใช้ติดต่อในโครงข่ายส่วนตัวครอบคลุมรัศมีใกล้ๆระยะหลายสิบเมตรหรือในสถานที่เฉพาะเช่นร้านกาแฟ สนามบินหรือHot Spotอื่นๆ โดยมีความเร็วสูงสุดตั้งแต่ระดับหลายสิบเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11a/b/gจนถึงระดับร้อยเมกะบิตต่อวินาทีอย่าง802.11n นอกจากนี้ทางค่ายIEEEนี้ก็ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้สามารถใช้สื่อสารรับส่งข้อมูลแบบไร้สายอย่างWireless LANได้ในรัศมีที่กว้างขึ้นระดับหลายกิโลเมตร(แต่หยุดเคลื่อนที่ขณะใช้งาน)ตามมาตราฐาน 802.16-2004 ที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Fixed WiMAX(ความเร็วสูงสุดประมาณ37เมกะบิตต่อวินาทีเมื่อใช้คลื่นพาหะกว้าง10MHz) หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาให้มาตราฐาน802.16นี้สามารถสื่อสารรับส่งข้อมูลได้แม้เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงที่เรียกว่า802.16e หรือที่รู้จักกันในชื่อระบบว่า Mobile WiMAXนั่นเอง  
               จะเห็นได้ว่าการต่อโครงข่ายเทคโนโลยีไร้สายต่างๆในรูปที่1เข้ากับโครงข่ายหลักของNGNจะทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อด้วยความเร็วระดับบรอดแบนด์ได้ในทุกที่ทุกขณะไม่ว่าจะกำลังใช้มือถือ Wireless LANหรือWiMAXอยู่ก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น